บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนวิชาอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวันกลุ่มเรียนที่5

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Democracy....

ระบอบประชาธิปไตย คือการปกครองตนเองของประชาชนเพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ การเลือกตั้งผู้แทนเป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งต้องเป็นอิสระและเป็นธรรมด้วยจึงจะถือว่าเป็นประชาธิปไตย ถึงเลือกตั้งไปแล้วก็ไม่ใช่ว่าผู้แทนจะใช้เสียงข้างมากลงมติทำอะไรเพื่อประโ ยชน์เฉพาะกลุ่มพรรคพวกตนได้ แต่ทั้งรัฐบาลและผู้แทนต้องทำเพื่อประโยชน์คนส่วนใหญ่หรือคนทั้งประเทศ คือเคารพสิทธิเสรีภาพ ประโยชน์ของคนส่วนน้อยด้วย
นั่นก็คือประชาธิปไตย หมายถึงประชาชนทั้งหมดสิทธิเสรีภาพ เสมอภาค และมีความเป็นพี่น้องกัน ไม่ใช่เผด็จการเสียงข้างมากของ สส.ในสภา
ประชาธิปไตยที่แท้จริงต้องอยู่บนรากฐานหลักการที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. หลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ประชาชนแสดงออกซึ่งการเป็นเจ้าของโดยใช้อำนาจที่มีตามกระบวนการเลือกตั้งที่ต้องอิสระและเป็นธรรม ในการให้ได้มาซึ่งผู้ปกครองและผู้แทนของตน (ไม่มีการซื้อขายเสียง ไม่มีการใช้อำนาจ ระบบอุปถัมภ์) และโดยการใช้อำนาจในการคัดค้านและถอดถอนผู้ปกครองและผู้แทนที่ประชาชนเห็นว่ า ไม่ได้บริหารประเทศในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม เช่น มีพฤติกรรมฉ้อโกง หาผลประโยชน์ทับซ้อนจนร่ำรวยผิดปกติ ปฏิบัติขัดต่อรัฐธรรมนูญ ผิดจริยธรรมอย่างร้ายแรง เช่น ในรัฐธรรมนูญ 2550 ประชาชน 2 หมื่นคนเข้าชื่อให้วุฒิสภาพิจารณาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองตั้งแต่นายกร ัฐมนตรีลงมาได้ รวมทั้งผู้ดำรงตำแหน่งสูง เช่น ผู้บัญชาการตำรวจก็มีสิทธิถูกประชาชนยื่นขอให้วุฒิสภาถอดถอนได้เช่นกัน
2. หลักสิทธิเสรีภาพ ประชาชนทุกคนมีความสามารถในการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ที่บุคคลต้องการ ตราบเท่าที่การกระทำของเขานั้น ไม่ไปละเมิดลิดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือละเมิดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและความมั่นคงของประเทศชาติเช่น การวิจารณ์คัดค้านรัฐบาล การชุมนุมโดยสงบ เป็นสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ การจัดตั้งสหภาพแรงงาน สมาคมต่างๆ ซึ่งข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐก็มีสิทธิเสรีภาพด้วยเช่นกัน
3. หลักความเสมอภาค การเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงทรัพยากรและคุณค่าต่างๆของสังคมที ่มีอยู่จำกัดอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกกีดกันด้วยสาเหตุแห่งความแตกต่างทางชั้นวรรณะทางสังคม ชาติพันธุ์ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือด้วยสาเหตุอื่น
4. หลักการปกครองโดยกฎหมายหรือหลักนิติธรรม การให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทั้งในเรื่องสิทธิเสรีภาพในทร ัพย์สิน การแสดงออก การดำรงชีพ ฯลฯ อย่างเสมอหน้ากัน โดยผู้ปกครองไม่สามารถใช้อำนาจใดๆลิดรอนเพิกถอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ และผู้ปกครองไม่สามารถใช้อภิสิทธิอยู่เหนือกฎหมาย หรือเหนือกว่าประชาชนคนอื่นๆได้
5. หลักการเสียงข้างมาก (Majority rule) ควบคู่ไปกับการเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย (Minority Rights) การตัดสินใจทางสาธารณะใดๆที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนหมู่มาก ย่อมต้องถือเอาเสียงข้างมากที่มีต่อเรื่องนั้นๆ เป็นเกณฑ์ในการตัดสินทางเลือก แต่ควรจะได้มีการเปิดอภิปรายการให้ข้อมูลข่าวสารถึงผลดีผลเสียต่อประชาชนอย่ างกว้างขวางและรอบคอบ ถ้าเป็นเรื่องสำคัญต้องทำประชาพิจารณ์ ประชามติด้วย

http://witayakornclub.wordpress.com/2008/06/25/ประชาธิปไตย-ต่างจากลัทธ/

ประชาธิปไตยที่ดี

...มนุษย์ ทั้งปวงย่อมเท่าเทียมกันโดยกำเนิด พระเจ้าได้มอบสิทธิบางประการ อันจะโอนให้แก่มนุษย์อื่นไม่ได้ สิทธิเหล่านี้คือ ชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุข การจัดตั้งรัฐบาลในหมู่ชนก็เพื่อผดุงสิทธิเหล่านี้ให้มั่นคง โดยประชาชนที่อยู่ใต้การปกครองยินยอมมอมอำนาจอันชอบธรรมให้ เมื่อรัฐบาลในรูปแบบหนึ่งรูปแบบใดดำเนินไปในแนวทางที่ทำลายจุดมุ่งหมายหมาย นี้ ประชาชนย่อมมีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกรัฐบาลนั้น และก่อตั้งรัฐบาลใหม่ในหลักการดังกล่าว เพื่อจัดระเบียบอำนาจของรัฐบาลในรูปแบบที่ชนทั้งหลายเห็นว่า จะยังผลให้เกิดความปลอดภัยและความผาสุกแก่ตน...

วิดีโอ โลกทั้งใบให้นายคนเดียว

ประชาธิปไตยกับการมีส่วนร่วมของประชาชน

ประชาธิปไตยกับการมีส่วนร่วมของประชาชน