บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนวิชาอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวันกลุ่มเรียนที่5

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

^^ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์สากล^^

สมัยกรีกโบราณ ถึงยุโรปสมัยกลาง (ศควรรษที่ 6 - 5 ก่อนคริตกาล - ราว ศตวรรษ ที่ 12 - 14)
จารีต ของวิชารัฐศาสตร์ก็ไม่ต่างจารีตของวิชาที่วงวิชาการไทยรับสืบทอดมา จากวงวิชาการในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษคือจะกล่าวอ้างไปถึงงานปรัชญาของ เพลโตและ อริสโตเติล ว่าเป็นงานที่ศึกษารัฐศาสตร์ในยุคเริ่มแรก ทว่าหากกล่าวอย่างเคร่งครัดนั้นในยุคกรีกโบราณมิได้มีการศึกษารัฐศาสตร์ เพราะการศึกษาทุกอย่างของกรีกโบราณจะเรียกว่าเป็นการ "แสวงหามิตรภาพกับปัญญา" (philosophia ปัจจุบันแปลว่าปรัชญา ซึ่งใช้แทนกันเป็นการทั่วไป แต่โดยนัยที่เคร่งครัดแล้วมีความตา่งกัน) อย่างไรก็ตามนักปรัชญากรีกโบราณโดยเฉพาะสายโสคราตีส, เพลโต และอริสโตเติลจะเชื่อว่า การศึกษาการเมืองคือเรื่องที่สำคัญที่สุด (politics is a master of science) การศึกษาปรัชญาโดยใช้การเมืองเป็นศูนย์กลางคือรากฐานของวิชาปรัชญาการเมือง และประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง
ในสมัยโรมันการศึกษาการเมืองไม่ ได้ให้ความสำคัญมากนัก อย่างไรก็ตามมรดกทางความคิดที่สำคัญคือการสร้างระบบกฏหมายที่ต่อมากลายเป็น รากฐานที่สำคัญของวิชานิติศาสตร์ และระบบการบริหารจัดการสาธารณะรัฐที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของวิชาการบริหาร จัดการสาธารณะ ผลงานที่สำคัญในยุคโรมันคืองานของซิเซโร
หลังสิ้นสุด ยุครุ่งเรื่องของปรัชญากรีก และการล่มสลายของจักรวรรดิ์โรมัน (โรมันตอนต้นปกครองโดยสภาเรียกว่าสาธารณะรัฐ ส่วนในตอนปลายปกครองโดยจักพรรดิ์จึงเรียกว่าจักรวรรดิ์) ศาสนาคริสต์เข้ามามีอิทธิพลต่อวิธีชีวิตของชาวยุโรปในทุกเรื่อง การศึกษาการเมืองจึงเป็นไปเพื่ออธิบายความว่าเหตุใดมนุษย์ซึ่งเป็นคนบาปตาม ความเชื่อของศาสนานั้นสามารถปกครองกันเองได้อย่างไร และกษัตริย์มีอำนาจชอบธรรมจากพระเจ้าอย่างไรจึงสามารถปกครองคนบาปได้ ในขณะเดียวกันปรัชญากรีดโบราณได้เติบโตในโลกมุสลิมเป็นอย่างมาก มีการนำปรัชญากรีกไปร่วมอธิบายกับหลักปรัชญามุสลิม และใช้เป็นรากฐานของการจัดการปกครอง ปรัชญากรีกในโลกมุสลิมต่อมามีอิทธิพลอย่างสูงต่อยุโรป โดยเฉพาะแนวคิดมนุษย์นิยมที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของการปฎิวัติทางภูมิปัญญา ในยุโรป (the age of enlightenment)
 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการถึงสมัยใหม่ตอนต้น (ราวศตวรรษ ที่ 13 - 19)
การ ปฏิวัติทางความคิดทางศาสนาคริสต์ การเติบโตขึ้นของแนวคิดมนุษย์นิยม (humanism) ทำให้การศึกษาการเมืองในยุคนี้มีการพูดถึงการเมืองของมนุษย์มากขึ้น โดยปรากฏชัดในงานเขียนเรื่อง "เจ้าผู้ปกครอง" (the prince) ของมาคิอาเวลลี ที่สอนการปกครองอย่างตรงไปตรงมา และในบางเรื่องดูจะโหดร้าย และน่ารังเกียจหากมองด้วยสายตาของผู้ที่เคร่งครัดในจารีตทางความเชื่อแบบมี ศีลมีธรรมแบบยุโรป
การปฏิวัติทางความคิดวิทยาศาสตร์ยุคแรก (the scientific revolution) ส่งผลให้ในยุโรปเกิดกระแสการนำเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาศึกษาการเมือง โดยปรากฏอย่างชัดเจนในงานเรื่อง เลอไวธัน (Levithan) ของ ฮอบส์ ที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคมว่าไม่ต่างจากระบบกลไล ที่รัฐคือองคาพยพใหญ่ และมนุษย์คือฟันเฟือง ในขณะเดียวกันงานของรุสโซก็สร้างข้อถกเถียงที่สำคัญว่าการศึกษาการเมืองนั้นจะใช้วิทยาศาสตร์หรือปรัชญาดี อิทธิพลทางความคิดดังกล่าวกลายเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของแนวคิดทางการเมืองใน ยุคสมัยใหม่ตอนปลาย และช่วงสงครามเย็นนั่นคือ อุดมการณ์ทางการเมือง
 สมัยใหม่ตอนปลาย (ราวศตวรรษ ที่ 19 - 20)
เป็น ยุคที่วิชา รัฐศาสตร์มีการศึกษาที่นำเอาวิทยาศาสตร์ เข้ามาช่วยศึกษา และเรียกการศึกษาการเมืองว่า "รัฐศาสตร์" (political science) เป็นครั้งแรก ในช่วงทศวรรษที่ 1960 โดยเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกาซึ่งแต่เดิมมีการเรียนการสอนอยู่ในคณะประวัติ ศาสตร์ ซึ่งศาสตร์ตราจารย์คนแรกของวิชารัฐศาสตร์คือฟรานซ์ ลีแบร์ (Francis Lieber) นักปรัชญาอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน โดยดำรงตำแหน่งเป็นศาตราจารย์ประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัย โคลัมเบีย
การศึกษาวิชาในยุควิทยาศาสตร์นี้ได้สร้างวิธีการศึกษาการ เมืองขึ้นมา นั่นคือการศึกษาการเมืองผ่านการสร้าง ทฤษฎีการเมือง นักรัฐศาสตร์ที่เรียกตัวเองว่านักทฤษฎีการเมืองจะมองว่าทฤษฎี คือเครื่องมือในการทำความเข้าในสภาพการเมืองโดยรวม ซึ่งผลิตผลของการศึกษาทำความเข้าใจดังกล่าวจะได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่สามารถ นำมาประยุกต์สร้างตัวแบบ (model) เพื่ออธิบายความจริง (fact) ที่เกิดขึ้น ในยุคนี้ยังเชื่อว่าการศึกษาการเมืองโดยใช้ปรัชญา และประวัติศาสตร์เป็นเรื่องพ้นสมัย การศึกษาการเมืองในยุคนี้จึงเน้นศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง แล้วนำมาวัดประเมินค่าในเชิงคณิตศาสตร์และสถิติ จึงเรียนรัฐศาสตร์ในยุคเริ่มแรกว่า สำนักพฤติกรรมศาสตร์ (behavioralism)
อย่าง ไรก็ตามในเวลาช่วง ทศวรรษที่ 1970 - 1980 นักรัฐศาสตร์จำนวนมากก็ตั้งข้อกังขาว่าการเมืองนั้นสามารถวัดค่าเป็นตัวเลข ได้หรือไม่ การถกเถียงดังกล่าวเกิดในวงวิชาการอเมริกัน อันนำไปสู่การปฏิวัติการศึกษาการเมืองที่พยายามดึงเอาปรัชญา และประวัติศาสตร์กลับมาอีกครั้ง เรียกว่านักรัฐศาสตร์สายหลังพฤติกรรมศาสตร์ (post-behavioralism)
 ปัจจุบัน
การ ศึกษารัฐศาสตร์ในปัจจุบันมี 2 กระแส กระแสแรกคือสายที่ยังศึกษาแนวพฤติกรรมศาสตร์ คือเชื่อมั่นว่าการศึกษาการเมืองผ่านตัวเลข และสถิติมีความมั่นคงเชื่อถือได้ ส่วนอีกกระแสคือสายที่พยายามกลับไปใช้ปรัชญา และประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษา รัฐศาสตร์ในปัจจุบันจึงมีลักษณะสาขาวิชาที่เป็นสหวิทยาการ (interdisciplinary) สูงมากสาขาวิชาหนึ่ง อย่างไรก็ตามจากการที่ความคิดตระกูลหลังสมัยใหม่เข้ามามีอิทธิพลต่อแวดวง วิชาการในทศวรรษที่ 1980 ทำให้วิชารัฐศาสตร์ก็หลีกหนีแนวนิยมนี้ไม่พ้น
ปัจจุบัน การศึกษารัฐศาตร์มิได้จำกัดขอบเขตการศึกษาอยู่ที่อธิบายสถาบัน และกระบวนการสร้างสถาบันทางการเมือง ทั้งนี้ก็ด้วยความเข้าใจ การเมืองที่เปลี่ยนแปรไป โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของตระกูลทางความคิดแบบหลังโครงสร้างนิยม (post – structuralism) หรือลัทธิหลังสมัยใหม่ โดยเฉพาะความคิดเรื่อง เทคโนโลยีแห่งอำนาจ (technologies of power)” ของมิแชล ฟูโกต์ นักคิดชาวฝรั่งเศส กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญเกี่ยวกับแนวความคิดเรื่องอำนาจ และการศึกษาการเมือง ปัจจุบันการศึกษาการเมืองจึงไม่ต่างจากการศึกษาแทบทุกสิ่งทุกอย่างที่นักรัฐ ศาสตร์เห็นว่ามีปฏิบัติการณ์ทางอำนาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะหนังสือเรื่องวินัย และ การลงโทษ : การกำเนิดขึ้นของเรือนจำ (Discipline and Punish: The Birth of the Prison)” ได้เสนอมุมมองใหม่ต่อสิ่งที่เรียกว่าการเมือง และอำนาจอย่างมหาศาล   
ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์ของไทย
การศึกษาด้านรัฐศาสตร์ของไทยเริ่มต้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง มีพระราชดำริจัดตั้ง โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน เพื่อรับคัดเลือกนักเรียนเข้ามาฝึกหัดเป็นข้าราชการตามกระทรวงต่าง ๆ (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) ต่อมาได้มีการขยายการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพัฒนาโรงเรียนดังกล่าวเป็น โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งภายหลังได้สถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากเหตุดังกล่าวนี้ การศึกษารัฐศาสตร์จึงเริ่มต้นขึ้น โดยคณะรัฐศาสตร์แห่งแรก คือ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แห่งที่สอง คือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแห่งที่สาม คือ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ข้อ สังเกตคือในยุคเริ่มแรกนั้นรัฐศาสตร์ไทยนั้นเน้นผลิตบัณฑิตเข้าสู่วง ราชการ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย ซึ่งต่อมาจึงเป็นที่มาของการใช้ตราสิงห์เป็นสัญลักษณ์ของสาขาวิชา และอีกส่วนหนึ่งคือการเรียนการสอนรัฐศาสร์ไทยในยุคแรก อันที่จริงเป็นการเรียนการสอนวิชารัฐประศาสนศาสตร์เพื่อสร้างข้าราชการป้อน ให้กับรัฐไทย หรือก็คือสอนวิชาบริหารจัดการสาธารณะภายได้ชื่อรัฐศาสตร์ทำให้ในเวลาต่อมา เกิดความสับสนในวงวิชาการว่ารัฐศาสตร์กับรัฐประศาสนศาสตร์นั้นมีความแตกต่าง กันหรือไม่อย่างไร อย่างไรก็ตามในสังคมไทยมีการศึกษารัฐศาสตร์กระแสหนึ่งซึ่งเริ่มมีอิทธิพล ขึ้นมากหลัง พ.ศ. 2526 เรียกว่ารัฐศาสตร์ทวนกระแสซึ่งโดยภาพรวมก็ไม่ต่างแนวหลังพฤติกรรมศาสตร์ในตะวันตก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น